31 ตุลาคม 2010
Posted in
cmtc
ประวัติวิทยาลัย
วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ จัดตั้งและเปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2480 บนเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา ในนามโรงเรียนช่างไม้เชียงใหม่ เปิดสอนหลักสูตรวิชาอาชีพช่างไม้เบื้องต้น ปีการศึกษา 2496 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างเชียงใหม่” รับนักเรียนสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี และงดรับนักเรียนระดับอาชีวศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2503 เปิดสอนตามโครงการ ส.ป.อ. ระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง รวม 6 แผนกวิชาคือ ช่างยนต์และดีเซล, ช่างกลโรงงาน, ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น, ช่างไฟฟ้า, ช่างวิทยุและโทรคมนาคม, ช่างก่อสร้าง ปีการศึกษา 2501 ได้รับการปรับปรุงให้เข้าอยู่ในโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2516 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเทคนิคเชียงใหม่” ปีการศึกษา 2522 ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ในปัจจุบันมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 47 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถนนเวียงแก้ว ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
การพัฒนาสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
พ.ศ. 2480 ตั้งขึ้นครั้งแรก วันที่ 1 กรกฎาคม 2480 มีชื่อว่า“โรงเรียนช่างไม้เชียงใหม่” เปิดสอนวิชาช่างไม้และเกษตร วิชาช่าง
ตีเหล็กช่างทำร่มและจักสาน โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมปีที่ 4 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี เมื่อสำเร็จได้ประกาศนีบัตร
ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ. 2494 เปิดสอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายแผนกช่างไม้ปลูกสร้าง โดยรับนักเรียนที่สำเร็จ ชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี
สำเร็จการศึกษาแล้วได้รับวุฒิประกาศนียบัตร ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนการช่างเชียงใหม่” รับนักเรียนสำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 3 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี และงดรับนักเรียนระดับ
อาชีวศึกษาตอนต้น
พ.ศ. 2501 เปิดสอนเพิ่มอีก 2 แผนก คือ แผนกตีเหล็ก แผนกเครื่องยนต์และดีเซล และขยายการสอน แผนกช่างไม้ปลูกสร้างถึงระดับประโยค
อาชีวศึกษาชั้นสูงโดยรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 6 และมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2503 เปิดสอนตามโครงการ ส.ป.อ. ระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง รวม 6 แผนกวิชา คือ
- ช่างยนต์และดีเซล - ช่างกลโรงงาน
- ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น - ช่างไฟฟ้า
- ช่างวิทยุและโทรคมนาคม - ช่างก่อสร้าง
โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี
พ.ศ. 2510 ได้รับการปรับปรุงให้เข้าอยู่ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเทคนิคเชียงใหม่”
พ.ศ. 2519 ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัย โดยรวมกับโรงเรียนอาชีวศึกษาเชียงใหม่เป็น “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ วิทยาเขต 1”
เปิดสอนระดัมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ. 5) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
พ.ศ. 2522 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่”
พ.ศ. 2524 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี และหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพเทคนิค (ปวท.) 2 ปี
พ.ศ. 2526 ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมของกรมอาชีวศึกษา
พ.ศ. 2530 เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยจัดการศึกษาปีละ 4 ภาคเรียน
พ.ศ. 2533 ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยจัดการศึกษา ปีการศึกษาละ 2 ภาคเรียน
พ.ศ. 2536 ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยจัดการศึกษาปีการศึกษาละ 2 ภาคเรียน
- เปิดการสอนระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) วิชาเอกครูเทคนิค ไฟฟ้าสื่อสาร
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. 2537 ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3 ปี โดยจัดการศึกษาปีการศึกษาละ 2 ภาคเรียน
พ.ศ. 2538 เริ่มเปิดสอนระบบทวิภาคี ในระดับ ปวช. สาขาวิชาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. 2540 รับผู้ที่สำเร็จการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาต่อระดับ ปวส. ในระบบปกติและระบบทวิภาคี
พ.ศ. 2545 - เริ่มใช้หลักสูตร ปวช.2545 สำหรับนักศึกษาที่เข้าใหม่ในปีการศึกษา 2545 และเปิดสอนสาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม
ระดับ ปวส. โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.สาขาช่างยนต์, ช่างกลฯ และช่างเชื่อมฯ
- เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับ ปวส.
พ.ศ. 2546 เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับ ปวส.
พ.ศ.2547 เปิดคลินิกเทคโนโลยี บริการให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป เป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
พ.ศ. 2551 เริ่มเปิดสอนสาขาแมคคาทรอนิกส์ ระดับ ปวช.